ไดออกซินคืออะไร

          ไดออกซิน (dioxins)  เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional  products) จากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เป็นสารประกอบในกลุ่มคลอริเนตเตท อะโรเมติก (chlorinated aromatic compounds) ที่มีออกซิเจน (O) และคลอรีน (Cl) เป็นองค์ประกอบ 1 ถึง 8 อะตอม ไดออกซิน มีชื่อเรียกเต็ม คือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซ  พารา-ไดออกซิน  (polychlorinated dibenzo-para-dioxins` PCDDs)  มีทั้งหมด 75 ชนิด   และสารอีกกลุ่มที่มีโครงสร้าง และความเป็นพิษคล้ายกับไดออกซิน เรียกว่า Dioxin like สารกลุ่มนี้คือ ฟิวแรน มีชื่อเรียกเต็มคือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซฟิวแรน (polychlorinated dibenzo  furan` PCDFs) มีอยู่ 135 ชนิด โดยไดออกซิน/ฟิวแรน มีทั้งหมด 210 ชนิด (75+135) ขึนอยู่กับตําแหน่งที่มีสารคลอรีน (Cl) บนวงแหวนของเบนซีน (benzene ring) (จารุพงศ์ บุญหลง, 2547)  และจํานวนไอโซเมอร์ (isomer) ของไดออกซินและฟิวแรน

โครงสร้างของไดออกซินและฟิวแรน

สูตรโครงสร้างขอไดออกซินและฟิวแรน


















มาตรฐานอาหารปลอดภัย

รัฐบาลเยอรมนีเร่งดำเนินการเพื่อบรรเทาความกลัวของสาธารณชน หลังพบการปนเปื้อนสารไดออกซินที่เป็นพิษรุนแรงในอาหารเลี้ยงเป็ด ไก่ และสุกร ที่แพร่ขยายเป็นวงกว้างกว่าที่คาดไว้


       รัฐบาลเยอรมนีแถลงเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2554 ว่า อาหารสัตว์อย่างน้อย 3,000 ตัน ที่เชื่อว่าปนเปื้อนสารพิษไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ถูกแจกจ่ายไปยังฟาร์มเลี้ยงเป็ด ไก่ และสุกร กว่า 1,000 แห่งใน 8 รัฐของเยอรมนีซึ่งมากกว่าที่ประกาศในตอนแรกถึงกว่า 6 เท่า โดยตอนแรกประกาศว่ามีอาหารสัตว์ปนเปื้อนเพียง 500 ตันเท่านั้นที่ถูกแจกจ่าย

  อิลเซอ ไอเญอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเยอรมนีประกาศว่า อาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสาธารณชน ขณะที่กรณีอื้อฉาวนี้แพร่กระจายไปทั่วภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนี ซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนเนเธอร์แลนด์
   ความกลัวเรื่องสุขภาพอนามัยของประชาชนแผ่ขยายไปทั่วประเทศ นับตั้งแต่ฟาร์มต่างๆ เริ่มยุติการผลิตไข่และเนื้อเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
   ต้นตอของการปนเปื้อนอาหารสัตว์นี้เริ่มขึ้นที่ผู้จัดจำหน่ายน้ำมันสำหรับการผลิตอาหารสัตว์รายหนึ่งในรัฐชเลสวิก-ฮอลชไตน์ ทางภาคเหนือของเยอรมนี โดยน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ถูกจำหน่ายไปใช้ในการผลิตอาหารสัตว์

คุณสมบัติของสารไดออกซิน

           โครงสร้างของสารไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ประกอบด้วยคลอรีนอะตอมเกาะเกี่ยวด้วยพันธะทางเคมีกับวงแหวนเบนซีน ละลายได้ดีในไขมัน ทําให้สารในกลุ่มนี้มีความคงทนสูงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ละลายน้ําได้น้อย  สามารถถ่ายทอดและสะสมได้ในห่วงโซ่อาหาร (food chain)  สามารถเคลื่อนย้ายและแพร่กระจายในอากาศและตกลงสู่ดิน  รวมทั้งแหล่งน้ํา สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเป็นพิษโดยมีการจัดการลําดับความเป็นพิษของ WHO ซึ่งเทียบให้เป็นสารที่มีความเป็นพิษระดับ 1 ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของไดออกซินและฟิวแรน ดังนี้
      คุณสมบัติ                                  PCDDs                                                                   PCDFs
  จุดหลอมเหลว (°C)                         89 -322                                                                  184-258
  จุดเดือด(°C)                                  284-510                                                                   375-537
  Log Kow                                        4.3-8.2                                                                      5.4-8.0
  Half life (อากาศ)                          2 วัน – 3 สัปดาห์                                                           1 – 3 สัปดาห์
  Half life (น้ํา)                                2 เดือน – 6 ปี                                                                 3 วัน – 8 เดือน
  Half life (ดิน)                               2 เดือน – 6 ปี                                                                  8 เดือน – 6 ปี
  Half life (ตะกอนดิน)                   8 เดือน – 6 ปี                                                                  2 ปี – 6 ปี

ที่มา: Olie, K., Addink, R., and Schoonenboom, M. (1998)

การเกิดและแหล่งกําเนิดไดออกซิน

          สารกลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนที่เกิดขึ้นในรูปของผลผลิตพลอยได้จากหลายกระบวนการและแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ ดังนี้
1. กระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีคลอรีนโบรมีน ฟีนอล เป็นองค์ประกอบ เช่น 2,4,5 – T (herbicide) และ pentachlorophenol  (Rappe, C., 1996)
2. กระบวนการเผาไหม้จากเตาเผาอุณหภูมิสูง (incinerator) เช่น เตาเผาขยะชุมชน เตาเผาขยะติดเชื้อ เตาเผาขยะสารอันตราย หรือ กากอุตสาหกรรม กระบวนการหลอมโลหะ ซึ่งพบสารไดออกซิน/ ฟิวแรนในกากของเถ้าลอย (fly ash) อากาศที่ปลดปล่อยจากปล่องควัน และน้ําชะเตาเผา รวมถึงเตาเผาหลอมโลหะที่มีโลหะประเภทต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น อุตสาหกรรมรีไซเคิลโลหะ อุตสาหกรรมหลอมอะลูมิเนียม  โลหะทองแดง แมงกานีส และนิกเกิล (Olie,  K.,  Addink,  R.,  and  Schoonenboom, M.,  1998)  การเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่างๆ เช่น ไพโรลิซิส (pyrolysis) กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) และการเผาไหม้ (combustion) และธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน คลอรีน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยการเกิดไดออกซินและฟิวแรน (Moreno-Pirajan, JC., et al., 2007)
3. กระบวนการทางธรรมชาติ หรือ กิจกรรมของมนุษย์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น chlorophenol hydrogen peroxide จากโรงงานกระดาษ การผลิตเยื่อกระดาษ หรือการทับถมของขยะ  แหล่งกําเนิดสารกลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งจากการศึกษาของประเทศเนเธอร์แลนด์
4. กระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีแสง (photochemical  reaction) ภายใต้บรรยากาศ ทําให้ไดออกซิน
ปลดปล่อยสู่บรรยากาศและเคลื่อนย้ายไปได้ไกล (Oka , H., et al., 2006a Steen, PO., et al., 2009)

ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย

         พิษเฉียบพลัน ไดออกซินไม่ทําให้เกิดอาการพิษหรือตายอย่างเฉียบพลัน แต่อาการจะค่อยๆเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตไดภายในเวลา 14 – 28 ชั่วโมง อาการที่จัดเป็นลกษณะของพิษที่เกิดจากสารไดออกซินคือ อาการที่เรียกว่า “Wasting  Syndrome”        โดยลักษณะอาการแบบนี้จะเกิดการสูญเสียน้ําหนักตัวอย่างรวดเร็วจากการได้รับสารเป็น 2-3 วัน นอกจากนี้ส่วนมากเกิดอาการฝ่อของต่อมไทมัส มีอาการผิดปกติของตับ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีอาการอัณฑะฝ่อน้ำหนักต่อมลูกหมากและมดลูกเล็กลง น้ําหนักของต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น การสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูกลดต่ำ อาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มสิวหัวดํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบหน้าเรียกโรคผิวหนังนี้ว่า “Chloraone” ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นและสีของเล็บจะเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล เยื่อบุตาอักเสบ ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะตับ อีกทั้งยังทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและทําให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่น การสืบพันธุโดยสารไดออกซินมีผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ทดลองและปริมาณของสาร ซึ่งความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ของเพศผู้และเพศเมียมีดังนี้คือในเพศเมียจะมการผสมพันธุ์แล้วไม่สามารถตั้งท้องได้จนครบกําหนดจํานวนลูกต่อครอกลดลง การทํางานของรังไข่ผิดปกติหรือไม่ทํางาน วงจรการเป็นสัตว์ (การผสมพันธุ์) ผิดปกติ และมีเนื้อเยื่อบุมดลูกเจริญเติบโตภายนอกมดลูก  ส่วนในเพศผู้พบว่า ไดออกซินทําให้น้ำหนักของอัณฑะและอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ลดลง อัณฑะมีรูปร่างผิดปกติ การสร้างเชื้ออสุจิลดลง ทําให้ความสําเร็จของการผสมพันธุ์ลดลง มีความไวต่อสารไดออกซินต่างกัน เช่น ลิงและหนู จะมีความไวต่อสารในระดับต่ําสุดที่ 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัมน้ําหนักตัว/วัน และรับสารต่อเนื่องกันนาน 13 สัปดาห์ มีผลทําให้การสร้างอสุจิลดลง
          พิษเรื้อรัง ไดออกซิน/ ฟิวแรน จะทําให้น้ําหนักตัวลดลงและเกิดความผิดปกติที่ตับ ทําให้เซลล์ตับตาย และเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ ไดออกซินที่มีความเป็นพิษมากที่สุดคือ 2,3,7,8-Tetra  CDD
(ประกอบด้วยคลอรีน 4 อะตอม) ซึ่งวิธีการหา total  toxicity  (ความเป็นพิษทั้งหมด) ของ PCDDs/PCDFs จะแสดงโดยค่า I-TEQ  (International  Toxic   Equivalent)  โดยแต่ละสารประกอบจะประเมินจากค่า I-TEF (International  Toxic   Equivalent  Factor) ซึ่งค่า I-TEF ของ 2,3,7,8-Tetra  CDD ที่มีความเป็นพิษมากที่สุดนี้เท่ากับ 1 (Holtzer, M., Dañko, J., and Dañko, R., 2007) ซึ่งค่าความเป็นพิษของไดออกซินและฟิวแรนแต่ละตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายไอโซเมอร์ หรือที่เรียกว่า “คอนจีเนอร์” (congeners)

การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม

การกระจายของสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมมีหลายวิธี  ดังนี้
1. การกระจายสู่แหล่งน้ํา ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้กําหนดปริมาณไดออกซินที่มนุษย์สามารถรับเข้า
ไปในร่างกายทางน้ําและยอมรับได้ (acceptable  human  intake  limits) โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดาได้กําหนดปริมาณไดออกซินในน้ําดื่ม
(drinking  water)  ไว้ที่ 15 pg/L  TCDD  TEQ  และระดับการปนเปื้อนของสูงสุดสําหรับ TCDD  กําหนดโดยประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S EPA) เท่ากับ 0.03 ng/L และเนื่องจากไดออกซินเป็นสารที่ละลายน้ําได้ต่ำจึงถูกดูดซับอยู่บนตะกอน ดังนั้นจะพบว่าในน้ําดื่มจะมีสารไดออกซินอยู่น้อยมากคือ น้อยกว่า 1 พิโครกรัม (pg) น้ําดื่มที่มีสารไดออกซิน 0.5 พิโครกรัม จะทําให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายมนุษย์สูงถึง 1,000 พิโครกรัมต่อวัน หรือมากกว่า 10 พิโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สําหรับคนที่มีน้ําหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนไดในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม
(deposition)  ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ทีชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla,  G.,  et  al.,  2004) เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ํา(water solubility) ต่ํา โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล(chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ําและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ํา (dissolved organic matters)  และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki,  S.,et al., 2007)

3. การปะปนของไดออกซินในน้ําทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นําโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ
4. การแพร่กระจายจากสัตว์น้ำ เช่น  ปลามีโอกาสที่จะรับสารไดออกซิน โดยพบว่าในปลาจะมีสาร  
ไดออกซินสูงสุดถึง  85  พิโคกรัมต่อกรัม (ค่าเฉลี่ยประมาณ 0.4  พิโคกรัมต่อกรัม) ซึ่งจะทําใหคนที่บริโภคเนื้อปลาจะมีสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายประมาณ  0.5  พิโคกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมาตรฐานของ FDA ระบุว่า สารไดออกซินระดับ 25 พิโคกรัม ต่อ กรัม ในเนื้อปลาจะไม่มีอันตราย ดังนั้นคนที่บริโภคเนื้อปลาเฉลี่ยแล้วจะบริโภคไดออกซินในแต่ละวันไดประมาณ 2 พิโคกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน
5.  การแพร่กระจายจากการเผาไหม้น้ํามันเชื้้อเพลิงโดยไดออกซินส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหมก๊าซเชื้อเพลิง เช่น ใน Lead Gasoline ที่มีคลอรีน (Cl)  เป็นองค์ประกอบประมาณ 700 ppm.
6. การแพร่กระจายของไดออกซินจากการเผาไหม้วัสดุที่มีคลอรีนในการเผาไหม้วัสดุหรือมูลฝอยที่มีสารต่างๆ ที่มีองค์ประกอบเป็นคลอรีนอยู่มากน้อยต่างกัน เมื่อนํามาเผาไหม้ก็จะมีโอกาสเกิดสารไดออกซินขึ้นในปริมาณที่แตกต่างกัน 

การตรวจวัดสารไดออกซิน

         การตรวจวิเคราะห์สารไดออกซินนั้นสามารถอ้างอิงได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานเหล่านั้นจะ
เปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่างประเภทต่างๆ เช่น ตัวอย่างอากาศจากปล่อง ตัวอย่างในบรรยากาศ ตัวอย่างน้ําทิ้ง ตัวอย่างชีวภาพ ตัวอย่างอาหาร ฯลฯ นอกจากนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น EPA1613 EPA8290 หรือ EPA23 TO-09 EN1948 (พล สาเททอง, 2549) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. วิธีสกัดโดยเทคนิคต่างๆ เช่น Soxhlet extraction, microwave extraction, Solid phase extraction
(SPE), Liquid-Liquid extraction (LLE), Accelerated Solvent Extraction (ASE), Pressurized Solvent Extraction
(PSE)
2. วิธีการกําจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวอย่าง (clean up) เช่น Gel Permeation Chromatography, Multi-
layer Chromatography, Basic alumina Chromatography, Acid alumina Chromatography, Activated carbon
Chromatography, Sulfuric acid treatment
3. การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ (Quality control and Quality assurance) เช่น Control chart, Solvent
Blank , Sample blank,C12Labelled standards, Column clean up spike, Recovery test, Standard Reference
Material (SRM), Certify Reference Material (CRM), Laboratory round robin
4. การวิเคราะห์ทางปริมาณ (Quantitative analysis) เช่น High Resolution Gas Chromatography - High
Resolution Mass Spectrophotometer (HRGC/HRMS), Isotope ratio dilution
5. การรายงานผล (report) เป็นพิโคกรัม (pictogram ` pg ) คือ 1 pg = 10-12 กรัม, Toxicity Equivalent
by weight of 2,3,7,8-TCDD (TEQ), I-TEF (International - Toxicity Equivalent factors), TEQ (Total
concentration, I-TEF (International - Toxicity Equivalent factors)

อาหารปลอดภัย

การจัดการกากของเสีย

วิธีจัดการกากของเสียไดออกซินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและเป็นวิธีที่ USEPA  แนะนําคือ
การเผา (Incineration) โดยเตาเผาที่เหมาะสมมี 3 แบบ คือ
1. Rotary  kiln อุณหภูมิ 850-1,600 °C ระยะเวลาที่กากของเสียอยู่ในเตาเผาเป็นวินาท สําหรับกาก
ของเสียที่เป็นของเหลวหรือก๊าซและเป็นชั่วโมงสําหรับของแข็ง
2. Fluidized  bed  อุณหภูมิ 450-980 °C ระยะเวลาที่กากของเสียในเตาเผาเช่นเดียวกับเตาเผาชนิด
Rotary kiln
3. Liquid injection อุณหภูมิ 650-1,600 °C ระยะเวลา 0.1-2 วินาที เตาเผาชนิดนี้ใช้สําหรับกากของ
เสียไดออกซินที่เป็นของเหลว

มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย

     ประเทศไทยเริ่มมีการกําหนดให้เตาเผามูลฝอยเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษ ที่จะต้องควบคุมการปล่อย
อากาศเสียออกสู่บรรยากาศและกําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยจัดทําเป็นประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540 เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ซึ่งกําหนดค่าสารประกอบไดออกซินรวมไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2540)
ฉบับที่ 2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 เรื่อง กําหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ปล่อย
ออกจากเตาเผา สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม กําหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศประเภทไดออกซินและฟิวราน (Dioxins/Furans I- TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(กระทรวงอุตสาหกรรม, 2545)
ฉบับที่ 3  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2548  เรื่องกําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2546 ค่าสารประกอบไดออกซิน ซึ่งคํานวณผลในรูปของหน่วยความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์ (Dioxins/Furans I - TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546)
ฉบับที่ 4  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549  เรื่อง กําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการปลอยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซิเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตค่าสารประกอบไดออกซิน  ซึ่งคํานวณผลในรูปของหน่วยความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์(Dioxins/Furans I- TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2549)

มาตรการควบคุมไดออกซินและฟิวแรนในระดับโลก

             โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีความเห็น
สอดคล้องกันคือ ต้องการให้มีกลไกทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants` POPs) เบื้องต้น 12 ชนิด ดังกล่าว โดยร่วมกับรัฐบาลประเทศต่างๆ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาล เพื่อเตรียมกลไกทางกฏหมายต่างประเทศบังคับใช้สําหรับการดําเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเน้นที่สาร POPs ทั้ง12 ชนิดรวมทั้งศึกษาและพิจารณาสารPOPs อื่นนอกเหนือจาก12 ชนิด ที่กําหนดไว้แล้วซึ่งขณะนี้การประชุมเจรจาเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้ประกาศใช้เป็นอนุสัญญาเรียกว่า“Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants” ประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบัน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 จุดมุ่งหมายของอนุสัญญาฯ คือ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สารเคมี POPs เบื้องต้น 12 ชนิดคือ อัลดริน (aldrin) คลอเดน(chlordane) ดีดีที(DDT) ดิลดริน (dieldrin) เอนดริน (endrin) เฮปตะคลอ (heptachlor) เอชซีบี (hexachlorobenzene) ไมเร็กซ์(mirex) ท็อกซาฟน (toxaphene) พีซีบี (polychlorinated Biphenyls` PCBs) ไดออกซิน(Polychlorinated dibenzo-p-dioxins` PCDDs) และฟวแรน (Polychlorinated dibenzofuraus` PCDFs) สาร POPs เหล่านี้เป็นกลุ่ม
สารประกอบอินทรีย์ซึ่่งถูกย่อยสลายได้ยากโดยแสง สารเคมีหรือโดยวิธชีวภาพ ทําให้เกิดการตกค้างใน
สิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ไกลมาก โดยพันธกรณีสําคัญที่ภาคีต้องปฏิบัติ หลังจากอนุสัญญา POPs มีผลบังคับใช้แล้ว มีดังนี
1. ใช้มาตรการทางกฎหมายและการบริหารในการห้ามผลิตและใช้สาร POPs 9 ชนิดแรก
2. จะนําเข้า/ ส่งออกสาร POPs ได้ก็เฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่อนุญาตให้ทําได้ เช่น มีข้อยกเว้นพิเศษ
เพื่อนํามาใช้เป็นสารกําจัดปลวก สารกําจัดแมลง เป็นต้น
3. ต้องจัดทําแผนปฏิบัติการในการลดหรือเลิกการปล่อยสาร POPs จากกระบวนการผลิตภายใน 2 ปี
หลังจากอนุสัญญา POPs บังคับใช้
4. ส่งเสริมการใช้สารทดแทน แนวปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อม และเทคนิคที่ดีที่สุด
5. ประกันว่าคลังสินค้าที่มีสาร POPs ต้องได้รับการดูแลไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งต้องดูแลจัดการของเสียที่เกิดจากสาร POPs ในทํานองเดียวกัน
6. กําหนดแผนและปฏิบัติตามแผนเพื่อเป็นไปตามอนุสัญญา POPs และส่งรายงานให้ที่ประชุมภาคี
ภายใน 2 ปี หลังจากอนุสัญญา POPs มีผลบังคับใช้
7. ให้ผู้บริหารและผู้กําหนดนโยบายมีความเข้าใจเรื่อง POPs
8. ให้ความรู้เกี่ยวกับ POPs แก่สาธารณชน
9. สนับสนุนให้มีการวิจัยเรื่องผลกระทบต่างๆ จากสาร POPs ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
10. ตั้งศูนย์ประสานงานระดับชาติเพื่อทําหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและหน้าที่อื่นๆ

สารพิษไดออกซินในหมูเยอรมัน

บทสรุปของไดออกซิน

ไดออกซิน (dioxins)  เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional  products)  
และเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงที่สุดที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม  มนุษย์สามารถรับสารไดออกซินได้จาก
กิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเราโดยมีแหล่งกําเนิดทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้แต่
การจราจรซึ่่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรามาก  ภาครัฐเห็นความสําคัญของปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อ
ประชาชนโดยมีนโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมแก้ไขและพยายามปรับลดการปลดปล่อยของสารกลุ่ม      
ไดออกซินจากแหล่งกําเนิด  ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เหมาะสมต่อไปในอนาคตและต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารไดออกซินอย่างต่อเนือง สําหรับประเทศที่เจริญแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สําคัญที่ทําให้ประสบความสําเร็จในการปรับลดสารมลพิษไม่ใช่แต่เฉพาะสารไดออกซินเท่านั้นแต่สารพิษกลุ่มอื่นๆ ก็สามารถบริหารจัดการให้ปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนั้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อมิให้เป็นผู้สร้างมลพิษก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหามลพิษใหลดลงด้วย