มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย

     ประเทศไทยเริ่มมีการกําหนดให้เตาเผามูลฝอยเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษ ที่จะต้องควบคุมการปล่อย
อากาศเสียออกสู่บรรยากาศและกําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยจัดทําเป็นประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540 เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ซึ่งกําหนดค่าสารประกอบไดออกซินรวมไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2540)
ฉบับที่ 2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 เรื่อง กําหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ปล่อย
ออกจากเตาเผา สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม กําหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศประเภทไดออกซินและฟิวราน (Dioxins/Furans I- TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(กระทรวงอุตสาหกรรม, 2545)
ฉบับที่ 3  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2548  เรื่องกําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2546 ค่าสารประกอบไดออกซิน ซึ่งคํานวณผลในรูปของหน่วยความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์ (Dioxins/Furans I - TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546)
ฉบับที่ 4  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549  เรื่อง กําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการปลอยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซิเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตค่าสารประกอบไดออกซิน  ซึ่งคํานวณผลในรูปของหน่วยความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์(Dioxins/Furans I- TEQ) ไม่เกิน 0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2549)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น