การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม

การกระจายของสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมมีหลายวิธี  ดังนี้
1. การกระจายสู่แหล่งน้ํา ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้กําหนดปริมาณไดออกซินที่มนุษย์สามารถรับเข้า
ไปในร่างกายทางน้ําและยอมรับได้ (acceptable  human  intake  limits) โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดาได้กําหนดปริมาณไดออกซินในน้ําดื่ม
(drinking  water)  ไว้ที่ 15 pg/L  TCDD  TEQ  และระดับการปนเปื้อนของสูงสุดสําหรับ TCDD  กําหนดโดยประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S EPA) เท่ากับ 0.03 ng/L และเนื่องจากไดออกซินเป็นสารที่ละลายน้ําได้ต่ำจึงถูกดูดซับอยู่บนตะกอน ดังนั้นจะพบว่าในน้ําดื่มจะมีสารไดออกซินอยู่น้อยมากคือ น้อยกว่า 1 พิโครกรัม (pg) น้ําดื่มที่มีสารไดออกซิน 0.5 พิโครกรัม จะทําให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายมนุษย์สูงถึง 1,000 พิโครกรัมต่อวัน หรือมากกว่า 10 พิโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สําหรับคนที่มีน้ําหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนไดในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม
(deposition)  ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ทีชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla,  G.,  et  al.,  2004) เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ํา(water solubility) ต่ํา โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล(chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ําและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ํา (dissolved organic matters)  และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki,  S.,et al., 2007)

3. การปะปนของไดออกซินในน้ําทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นําโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ
4. การแพร่กระจายจากสัตว์น้ำ เช่น  ปลามีโอกาสที่จะรับสารไดออกซิน โดยพบว่าในปลาจะมีสาร  
ไดออกซินสูงสุดถึง  85  พิโคกรัมต่อกรัม (ค่าเฉลี่ยประมาณ 0.4  พิโคกรัมต่อกรัม) ซึ่งจะทําใหคนที่บริโภคเนื้อปลาจะมีสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายประมาณ  0.5  พิโคกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมาตรฐานของ FDA ระบุว่า สารไดออกซินระดับ 25 พิโคกรัม ต่อ กรัม ในเนื้อปลาจะไม่มีอันตราย ดังนั้นคนที่บริโภคเนื้อปลาเฉลี่ยแล้วจะบริโภคไดออกซินในแต่ละวันไดประมาณ 2 พิโคกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน
5.  การแพร่กระจายจากการเผาไหม้น้ํามันเชื้้อเพลิงโดยไดออกซินส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหมก๊าซเชื้อเพลิง เช่น ใน Lead Gasoline ที่มีคลอรีน (Cl)  เป็นองค์ประกอบประมาณ 700 ppm.
6. การแพร่กระจายของไดออกซินจากการเผาไหม้วัสดุที่มีคลอรีนในการเผาไหม้วัสดุหรือมูลฝอยที่มีสารต่างๆ ที่มีองค์ประกอบเป็นคลอรีนอยู่มากน้อยต่างกัน เมื่อนํามาเผาไหม้ก็จะมีโอกาสเกิดสารไดออกซินขึ้นในปริมาณที่แตกต่างกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น