ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย

         พิษเฉียบพลัน ไดออกซินไม่ทําให้เกิดอาการพิษหรือตายอย่างเฉียบพลัน แต่อาการจะค่อยๆเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตไดภายในเวลา 14 – 28 ชั่วโมง อาการที่จัดเป็นลกษณะของพิษที่เกิดจากสารไดออกซินคือ อาการที่เรียกว่า “Wasting  Syndrome”        โดยลักษณะอาการแบบนี้จะเกิดการสูญเสียน้ําหนักตัวอย่างรวดเร็วจากการได้รับสารเป็น 2-3 วัน นอกจากนี้ส่วนมากเกิดอาการฝ่อของต่อมไทมัส มีอาการผิดปกติของตับ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีอาการอัณฑะฝ่อน้ำหนักต่อมลูกหมากและมดลูกเล็กลง น้ําหนักของต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น การสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูกลดต่ำ อาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มสิวหัวดํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบหน้าเรียกโรคผิวหนังนี้ว่า “Chloraone” ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นและสีของเล็บจะเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล เยื่อบุตาอักเสบ ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะตับ อีกทั้งยังทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและทําให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่น การสืบพันธุโดยสารไดออกซินมีผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ทดลองและปริมาณของสาร ซึ่งความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ของเพศผู้และเพศเมียมีดังนี้คือในเพศเมียจะมการผสมพันธุ์แล้วไม่สามารถตั้งท้องได้จนครบกําหนดจํานวนลูกต่อครอกลดลง การทํางานของรังไข่ผิดปกติหรือไม่ทํางาน วงจรการเป็นสัตว์ (การผสมพันธุ์) ผิดปกติ และมีเนื้อเยื่อบุมดลูกเจริญเติบโตภายนอกมดลูก  ส่วนในเพศผู้พบว่า ไดออกซินทําให้น้ำหนักของอัณฑะและอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ลดลง อัณฑะมีรูปร่างผิดปกติ การสร้างเชื้ออสุจิลดลง ทําให้ความสําเร็จของการผสมพันธุ์ลดลง มีความไวต่อสารไดออกซินต่างกัน เช่น ลิงและหนู จะมีความไวต่อสารในระดับต่ําสุดที่ 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัมน้ําหนักตัว/วัน และรับสารต่อเนื่องกันนาน 13 สัปดาห์ มีผลทําให้การสร้างอสุจิลดลง
          พิษเรื้อรัง ไดออกซิน/ ฟิวแรน จะทําให้น้ําหนักตัวลดลงและเกิดความผิดปกติที่ตับ ทําให้เซลล์ตับตาย และเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ ไดออกซินที่มีความเป็นพิษมากที่สุดคือ 2,3,7,8-Tetra  CDD
(ประกอบด้วยคลอรีน 4 อะตอม) ซึ่งวิธีการหา total  toxicity  (ความเป็นพิษทั้งหมด) ของ PCDDs/PCDFs จะแสดงโดยค่า I-TEQ  (International  Toxic   Equivalent)  โดยแต่ละสารประกอบจะประเมินจากค่า I-TEF (International  Toxic   Equivalent  Factor) ซึ่งค่า I-TEF ของ 2,3,7,8-Tetra  CDD ที่มีความเป็นพิษมากที่สุดนี้เท่ากับ 1 (Holtzer, M., Dañko, J., and Dañko, R., 2007) ซึ่งค่าความเป็นพิษของไดออกซินและฟิวแรนแต่ละตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายไอโซเมอร์ หรือที่เรียกว่า “คอนจีเนอร์” (congeners)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น